ช็อปช่วยชาติ ยิ่งจ่ายยิ่งประหยัดภาษี

โครงการช็อปช่วยชาติ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น มีชื่อโครงการเต็มว่า ค่าซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศ ผู้จ่ายเงินสามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้ โดยถูกแบ่งออก 4 รูปแบบหลัก 1. ค่าลดหย่อนการท่องเที่ยวในประเทศ ค่าลดหย่อนการท่องเที่ยวในประเทศ มีระยะเวลาโครงการระหว่าง 30 เมษายน ถึง มิถุนายน 2562 ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าที่พักและค่าแพ็คเกจทัวร์เท่านั้น ในกรณีที่เที่ยวจังหวัดหลักใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท แต่จังหวัดรองจะใช้ได้สูงสุด 20,000 บาท 2. ค่าลดหย่อนจากการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ค่าลดหย่อนจากการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา มีระยะเวลาโครงการระหว่าง พฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2562 โดยใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท ซึ่งครอบคลุมสินค้าประเภทเครื่องแบบและอุปกรณ์กีฬาและยกเว้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3. ค่าลดหย่อนจากการซื้อสินค้า OTOP ค่าลดหย่อนจากการซื้อสินค้า OTOP มีระยะเวลาโครงการระหว่าง 30 เมษายน ถึง มิถุนายนปี 2562 ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 ครอบคลุมสินค้า OTOP ทุกประเภทที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายแล้ว … Read moreช็อปช่วยชาติ ยิ่งจ่ายยิ่งประหยัดภาษี

ค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการซ่อมแซมเหตุอุทกภัย น้ำท่วมปลาบึกประจำปี 2562

ในช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมาก พายุโซนร้อนเคลื่อนตัวเข้ามาใขเขตประเทศไทยจนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งด้านเศรษฐกิจและประชาชน รัฐจึงช่วยเหลือด้านภาษีโดยกำหนดให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการซ่อมแซมทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมดังกล่าวมาลดหย่อนภาษีได้ ค่าซ่อมแซมที่รัฐอนุญาตให้นำมาใช้ลดหย่อนภาษีจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วง 3 มกราคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2562 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและค่าซ่อมแซมรถ การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายจริงหรือไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งสิทธิ์ค่าลดหย่อนนี้ครอบคลุมในกรณีมีที่ผู้เสียภาษี 1 คน มีที่อยู่อาศัยหลายที่อีกด้วย แต่เมื่อรวมค่าเสียหายทุกที่แล้วจะต้องไม่เกินเพดานที่กำหนดไว้ สำหรับค่าซ่อมแซมรถมีข้อกำหนดเหมือนกับที่อยู่อาศัย แต่มีเพดานค่าลดหย่อนสูงสุดที่ 30,000 บาทเท่านั้น ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมปลาบึกเมื่อปี 2562 เท่านั้น ซึ่งผู้ที่ต้องการใช้สิทธิ์จะต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายค่าซ่อมแซมที่เชื่อถือได้ ที่อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดและอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ที่ได้รับภัยพิบัติโดยตรง ในกรณีที่ ที่อยู่อาศัยของอยู่ในลักษณะของการเช่าใช้งาน ปกติคุณจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ค่าลดหย่อนการซ่อมแซมได้ เพราะค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นภาระของเจ้าเจ้าของทรัพย์สิน แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นกับการทำสัญญาระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าอีกด้วย

ลดหย่อนภาษีจากโครงการบ้านหลังแรก

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจากค่อยมีปัญหาคนไร้บ้านอย่างเห็นได้ชัด แต่รัฐบาลก็เร่งรัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งเพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาสังคมตามมาในภายภาคหน้า ดังนั้นจึงออกโปรโมชั่นทางภาษีให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการซื้อบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ โครงการบ้านหลังแรกค่อนข้างเป็นที่ถกเถียงกันในเขตทางกฎหมายเนื่องจากเป็นโครงการใหม่และมีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง ล่าสุดตามประมวลกฎหมายรัษฎากรได้กำหนดให้คนที่ซื้อบ้านหลังแรกในปี 2562 ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม เป็นต้นมาจะได้รับการยกเว้นภาษี 200,000 บาทในกรณีที่ราคาบ้านไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่ถ้าหากราคาบ้านเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากโครงการบ้านหลังแรกได้เลย นอกจากนี้ยังมีโครงการบ้านหลังแรกที่มีโปรโมชั่นทางภาษีในช่วงปี 2558 ซึ่งให้ใช้สิทธิ์การลดหย่อนได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้านที่ซื้อมา โดยคำนวณจากราคาซื้อขายตามสัญญา แต่มูลค่า 20% นี้จะถูกเฉลี่ยเอาไปใช้ในปีภาษีในปีที่ซื้อบ้านและอีก 4 ปีในอนาคต เช่น ซื้อบ้านมาในราคา 4 ล้านบาท ซึ่ง 20% ของราคาบ้านคือ 800000 ดังนั้นค่าลดหย่อนจะถูกเฉลี่ยใช้ 5 ครั้งด้วย โดยในปี และถัดไปอีก 4 ปี ค่าบ้านงวดแรกจะสามารถใช้ค่าลดหย่อนได้ปีละ 800,000 / 5 = 160,000 บาท ในกรณีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านเพียงคนเดียวสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนการเป็นเจ้าของ ของบ้านหลังนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ในแบบสามีภรรยา แต่สำหรับการทำสัญญาเป็นเจ้าของหลายคนในรูปแบบอื่นสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากประมวลกฎหมายรัษฎากร

ลดหย่อนภาษีได้ด้วยการลงทุนใน startup

ในปี 2019 คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก startup ซึ่งเป็นแคมเปญใหม่ที่รัฐบาลออกมาผลักดัน ไม่ว่าจะในรูปแบบงานประกวดแข่งขัน การประชันไอเดียต่าง ๆ เช่นเดียวกับมีโปรโมชั่นทางภาษีให้สามารถใช้เงินที่ลงทุนในกิจการ startup เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ การลงทุนใน startup ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของไอเดียโดยตรง แต่สามารถอยู่ในรูปแบบผู้ถือหุ้นหรือเป็นนายทุนที่ออกทุนให้ startup ได้พัฒนาก็ได้ แต่จะต้องถือหุ้นมากกว่า 2 ปีขึ้นไป ถ้าหากผิดเงื่อนไขนี้ก็ต้องกลับไปคำนวณภาษีในปีก่อนๆที่ได้ใช้สิทธิ์ค่าลดหย่อนพร้อมกับการจ่ายดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร โดยโปรโมชั่นภาษีกำหนดให้ใช้ค่าลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีเท่านั้น เนื่องจาก startup ค่อนข้างเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่มาพร้อมกับเทคโนโลยี ในปัจจุบันจึงมีกฎหมายรองรับ startup ที่จดทะเบียนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึง สิ้นปี 62 นี้เท่านั้น โดย startup จะต้อง อยู่ในหมวดหมู่ของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐกำหนดให้ซึ่งประกอบด้วย การเกษตร พลังงาน สาธารณสุข การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การบริการ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมวัสดุ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องประดับ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ สารสนเทศ … Read moreลดหย่อนภาษีได้ด้วยการลงทุนใน startup

การลดหย่อนภาษีจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

การลงทุนซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้มาถึง 15% ของเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้เลือกจากค่าลดหย่อนที่น้อยที่สุด เช่น ในปีนี้มีเงินได้ที่ต้องนำไปเสียภาษี 300,000 บาท และได้ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเป็นเงิน 150,000 บาท เมื่อคำนวณหาค่าลดหย่อนโดยใช้เกณฑ์ 15% ขอเงินได้ จะได้ 300,000 x 15% = 45000 บาท แต่ถ้าคิดตามเพดานสูงสุดที่ 500,000 บาท จะได้ส่วนลดภาษี 150,000 บาท ซึ่งในกรณีนี้ การคำนวณโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ 15% มีค่าน้อยกว่า จึงสรุปได้ว่าปีนี้สามารถใช้ค่าลดหย่อนจากการลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้เพียง 45000 บาท การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่สามารถนำมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้นั้นจะต้องมีระยะเวลาที่ลงทุนในกองทุนนั้นตั้งแต่การซื้อครั้งแรกเท่ากับ 7 ปีปฏิทิน หรือ 5 ปีในกรณีที่คาบเกี่ยวกันได้ 7 ปี ถ้าผู้ลงทุนผิดสัญญาโดยการขายกองทุนที่ซื้อก่อนระยะเวลาที่กำหนดจะต้องกลับไปคำนวณภาษีในปีที่ผ่านมาใหม่ทั้งหมดและจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยจากภาษีที่ไม่ได้จ่ายในอัตรา 1.5 % ต่อเดือนอีกด้วย แต่ถ้าหากคบระยะเวลา 7 ปีปฏิทินแล้วทำการขายกองทุน … Read moreการลดหย่อนภาษีจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

ลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อกองทุนที่รัฐกำหนด

มนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่เกิดจนตาย รัฐจึงมีส่วนช่วยเข้ามาจัดการดูแลสวัสดิการในยามแก่ชรา ผู้ที่ไม่มีบุตรหลานคอยเลี้ยงดูหรือขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพก็ถือเป็นรายจ่ายที่รัฐต้องรับผิดชอบ ดังนั้นรัฐจึงมีส่วนร่วมในกองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนในวัยชราสามารถดูแลตนเองจะได้ไม่เป็นภาระของรัฐ ซึ่งกองทุนเหล่านี้ประกอบด้วย ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RTF), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ค่าลดหย่อนจากการซื้อกองทุนเหล่านี้สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของอัตราเงินได้ในปีภาษีและจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีที่ซื้อกองทุนรวมเป็นจำนวนมาก โดยพิจารณาจากค่าลดหย่อนส่วนไหนน้อยกว่าให้เลือกส่วนนั้น กองทุนที่ได้กล่าวไปดังข้างต้นอยู่ในลักษณะของการลงทุนที่เป็นอิสระแยกจากกันในแต่ละปี ยกเว้นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RTF ที่มีข้อบังคับให้ต้องถือกองทุนตั้งแต่การซื้อครั้งแรกเป็นระยะเวลามากกว่า 5 ปี และจะขายกองทุนเหล่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ถ้าหากขายกองทุน RTF โดยผิดเงื่อนไขเรื่องอายุกองทุนและอายุเจ้าของกองทุน ต้องกลับไปคำนวณภาษีในปีก่อน ๆ ที่ใช้สิทธิ์การลดหย่อนภาษีจากกองทุน RTF ใหม่พร้อมกับจ่ายดอกเบี้ยภาษี มีคนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าค่าลดหย่อนภาษีจะแยกกันในแต่ละกองทุน ซึ่งความจริงให้อ้างอิงจากกฎ 15% ตามเงินได้ที่ต้องเสีย หรือไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมค่าใช้จ่ายที่ใช้ซื้อกองทุน ทุกกองทุนแล้ว

เรื่องไม่ลับกับการลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นงานประมูลสินค้าประเภท งานศิลปะ อาหาร บริการบางอย่างที่มียอดประมูลสูงระดับหลายล้านบาท รู้หรือไม่ว่าบุคคลที่ประมูลสินค้าเหล่านี้นอกจากจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าของสินค้าแล้วยังสามารถนำยอดประมูลนั้นไปใช้ในส่วนของการลดหย่อนภาษีประจำปีอีกด้วย เงินบริจาคแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือเงินบริจาคพิเศษ และ เงินบริจาคทั่วไป ซึ่งเงินบริจาคพิเศษ เป็นการบริจาค ให้กับองค์กรสาธารณประโยชน์ของรัฐ เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา กองทุนงานวิจัย กองทุนพัฒนาครูอาจารย์ กองทุนช่วยเหลือผู้พิการ เงินบริจาคให้ท้องถิ่น เงินบริจาคให้สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย และ การบริจาคค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านอาชีพ เงินบริจาคพิเศษนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้มากถึง 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่จะต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้สุทธิที่ผ่านการหักค่าลดหย่อนในส่วนอื่น ๆ เสร็จแล้ว ส่วนเงินบริจาคทั่วไป ก็มีกฎการลดหย่อนเหมือนกับเงินบริจาคพิเศษ แต่จะใช้สิทธิ์ได้เท่ากับเงินที่บริจาคจริงเท่านั้น ซึ่งการบริจาคทั่วไปนั้นเป็นการบริจาคใฟ้สถานที่สำคัญทางศาสนา องค์การรัฐบาล สถานที่ราชการ สถานศึกษาเอกชน องค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร กองทุนสวัสดิการภายใน และ สภากาชาดไทย สิ่งที่สำคัญสำหรับนำไปใช้ลดหย่อนภาษีคือหลักฐานที่แสดงอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ทำการบริจาคจริง ซึ่งส่วนนี้สำคัญมาก ใครที่สนใจสามารถตรวจสอบชื่อองค์กรที่เข้าข่ายนำไปยกเว้นภาษีได้เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ประมวลกฎหมายรัษฎากรโดยตรง หลังจากการบริจาคแล้วนอกจากจะสบาย ใจอิ่มบุญ แล้วยังได้ยกเว้นภาษีอีกเป็นจำนวนมาก